เสาบ้าน
เสาบ้าน คานบ้าน ทำหน้าที่รับน้ำหนักตามแกนตั้ง เช่น หลังคา พื้นอาคาร คาน แล้ว ถ่ายนํ้าหนักโครงสร้างทั้งหมดลงสู่ฐานราก

เสาบ้าน คานบ้านจุดศูนย์รวมสร้างบ้าน

เสาบ้าน คานบ้านทำหน้าที่รับน้ำหนักตามแกนตั้ง เช่น หลังคา พื้นอาคาร คาน แล้ว ถ่ายนํ้าหนักโครงสร้างทั้งหมดลงสู่ฐานราก การต่อเหล็กแกนเสาทําได้ 3 วิธี

เสาบ้าน

1. การต่อเหล็กแกนเสาด้วยวิธีต่อทาบหรือกุ้งเหล็ก

การต่อเหล็กแบบ ทาบ ระยะทาบต้องไม่น้อยกว่า 48 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กกลมธรรมดา และ 36 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กข้ออ้อย สำหรับการดุ้งเหล็กเสา ความลาดเอียง ของเหล็กส่วนที่ดัดเยื้อง เมื่อเทียบกับแกนเสาต้องไม่เกิน 1 ต่อ 6

งานโครงสร้างเสา

2.การต่อเหล็กแกนเสาด้วยวิธีการเชื่อม

การต่อเหล็กแบบเชื่อม ถือเป็นจุดอ่อนที่ต้องระวัง จะต้องให้กำลังของรอยเชื่อมมีความแข็งแรง ผลเสียถ้า เชื่อมไม่ติดเนื้อเหล็ก ก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้าง

3.การต่อเหล็กแกนเสาด้วยวิธีทางกล

เสาบ้าน

โดยการทำปลายเหล็กแกน เสาให้เป็นเกลียวแล้วประกบต่อกันด้วยข้อต่อเกลียว เป็นการต่อแบบแข็งแรงและมี ประสิทธิภาพมาก วิธีนี้เหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่ต้องการคุณภาพสูง เช่น งาน ก่อสร้างอาคารสูง

งานโครงสร้างเสา

เสาบ้าน
เสาบ้าน

เหล็กแกน เหล็กปลอก ลูกปูน คอนกรีต แบบหล่อ เทคนิคในการเทคอนกรีตเสา

1. ตรวจสอบความถูกต้องของแบบหล่อ เสา รอยต่อของเหล็กแกนเสา ค้ำยัน ดิ่ง ตรวจตำแหน่งศูนย์กลางเสา และความสูง ของคอนกรีตเสาที่จะเทให้เรียบร้อย

2.ราดน้ำแบบหล่อให้ชุ่ม เพื่อลดอุณหภูมิ และการดูดน้ำจากคอนกรีต

3. เทปูนซีเมนต์ผสมทรายลงไปในแบบ หล่อก่อน เพื่อเคลือบผิวแบบหล่อและ เหล็กเสริม

4. หยุดเทคอนกรีตที่ระดับต่ำกว่าท้อง คานประมาณ 2.5 เซนติเมตร เพื่อความ สะดวกต่อการวางแบบท้องคาน

งานโครงสร้างคาน

เสาบ้าน
เสาบ้าน

คานทำหน้าที่รับน้ำหนักตามแนวดิ่งที่ถ่ายมาจาก พื้น ผนัง คานฝาก แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานรองรับ เสาบ้าน อาคาร ระยะต่อทาบเหล็กต้องไม่น้อยกว่า 48 เท่าของ เส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กกลมธรรมดา และ 36 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กข้ออ้อย และไม่ควรตัดเหล็กด้วยด้วยแก๊ส เพราะจะทำให้เหล็กเสียกำลัง

ข้อพิจารณาในการเทคอนกรีตคาน

1. ก่อนเทคอนกรีต ควรตรวจสอบความเรียบร้อยของแบบคาน ความสะอาด รอยต่อ แบบ ค้ำยัน ไม้ตู้ ไม้รัดปากแบบ ท้องคาน การทำระดับหลังคาน

2. ก่อนเทคอนกรีตควรใช้เครื่องปั๊มลมเป่าไล่เศษฝุ่น

3. สำหรับคานที่มีขนาดลึกควรเทคอนกรีตเป็นชั้น จี้คอนกรีตให้แน่นในแต่ละชั้น และราดน้ำแบบหล่อให้ชุ่ม ชั้นละไม่เกิน 30 เซนติเมตร และ

4. ควรหยุดเทคอนกรีตในแนวตั้งฉากกับคาน ณ ตำแหน่งที่แรงเฉือนเกิดขึ้นน้อย ที่สุด โดยทั่วไปอยู่ประมาณกลางคาน เพื่อใ เพื่อให้รอยต่อเรียบร้อย ใช้ลวดตาข่ายคั่น รอยต่อหรือหากจำเป็นอาจใช้ไม้เคร่า 1% x 3 นิ้ว คั่นระหว่างเหล็กเสริม

5. ก่อนเทคอนกรีตต่อกับคอนกรีตใหม่ ควรทำความสะอาดรอยต่อ แล้วราดด้วยน้ำ ปูนขันหน้ารอยต่อให้ทั่วก่อน จึงเทคอนกรีตใหม่ต่อไป

ประเภทของคานบ้านที่ควรรู้

สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนสร้างบ้าน อย่าลืมศึกษาข้อมูลของโครงสร้างในส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเภทของคาน โดยจะต้องเริ่มตั้งแต่คานบ้านมีกี่แบบ แต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะได้เลือกการก่อสร้างและใช้ส่วนประกอบจากวัสดุที่ตอบโจทย์การสร้างบ้านได้มากที่สุดนั่นเอง

คานไม้

แต่เริ่มเดิมที คานบ้านมีจุดเริ่มต้นมาจากการใช้ไม้ เพราะนับเป็นวัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายและทนทานมากที่สุดในอดีต โดยจะเน้นไปที่ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้รัง ไม้เต็ง เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่และแข็งแรง ให้ความมั่นคงในการรับน้ำหนักของตัวบ้านได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีสีสันตามธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะสำหรับใช้ในการสร้างที่พักอาศัยอีกด้วย

➭ ข้อดี: สีสันสวยงาม มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ตามธรรมชาติ
➭ ข้อจำกัด: มีราคาที่ค่อนข้างสูง และต้องหมั่นบำรุงรักษา เพื่อป้องกันความเสียหายอยู่เสมอ

คานเหล็ก

คานเหล็ก เป็นการก่อสร้างโดยใช้วัสดุจากเหล็กรูปพรรณที่ผลิตมาในรูปแบบที่พร้อมต่อการใช้งาน ให้ผู้รับเหมาสามารถนำมาเชื่อมเพื่อประกอบขึ้นโครงสร้างได้ในทันที อย่างไรก็ตาม คานเหล็กมักจะนิยมใช้กับงานก่อสร้างสเกลใหญ่อย่างอาคารสูงมากกว่า เนื่องจากต้องอาศัยช่างมีความชำนาญสูง และมีขั้นตอนการก่อสร้างและบำรุงรักษามาก ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ไม่ค่อยสะดวกต่อการใช้งานในบ้านมากเท่าที่ควร

➭ ข้อดี: ผลิตมาในรูปแบบที่พร้อมใช้งาน มีมาตรฐานสูง ง่ายต่อการติดตั้ง ลดต้นทุนได้ดี
➭ ข้อจำกัด: รับน้ำหนักได้น้อยกว่าคานคอนกรีตเสริมเหล็ก ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญสูง และต้องหมั่นบำรุงรักษาเป็นประจำ

คานคอนกรีตเสริมเหล็ก

ถือเป็นประเภทคานบ้านที่เหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากคานคอนกรีตเสริมเหล็กนั้น จะประกอบไปด้วย ปูนซีเมนต์ น้ำ ทราย และหิน พร้อมเสริมความแข็งแกร่งเข้าไปอีกขั้นด้วยเหล็กเส้น เพื่อให้สามารถรับแรงดึงและน้ำหนักได้อย่างมั่นคง แข็งแรง อีกทั้งยังมีราคาที่ไม่สูงมาก และเป็นโครงสร้างที่แวดวงผู้รับเหมา วิศวกร และสถาปนิกมีความชำนาญสูง จึงทำให้ง่ายต่อการทำงาน และประหยัดเวลาในการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี

➭ ข้อดี: มีความแข็งแรงและทนทานสูง เพราะมีเหล็กช่วยรับน้ำหนักได้ดี อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกกว่าประเภทคานบ้านแบบอื่น ๆ
➭ ข้อจำกัด: มีโอกาสแตกร้าวได้ง่าย หากไม่ระวังในระหว่างขั้นตอนการเทปูนและบ่มคอนกรีตให้เป็นไปตามมาตรฐาน

ขั้นตอนการออกแบบคาน

1.ค่านวณหาค่าคงที่ต่างๆ(n,k,j,R)

2.จากแบบแปลนทางสถาปัตยกรรม(ถ้ามี) กำหนดหรือเลือกใช้ขนาดของคาน(ตามสภาพความต้องการใช้งานและความเหมาะสมทางวิศวกรรม) แล้วทำการวิเคราะห์หาน้ำหนักทั้งหมดที่มากระทำต่อคาน(ตัวหรือเบอร์ที่กำลังพิจารณา)

3.ทำการวิเคราะห์หาค่า แรงปฏิกริยา , แรงเฉือน , โมเมนต์ดัดและโมเมนต์บิด(ถ้ามี) แนะนำให้วิเคราะห์หาคาดังกล่าวโดย “วิธีละเอียด” เป็นเบื้องต้น เช่นวิธีสมการ 3 โมเมนต์, วิธีการกระจายโมเมนต์, หรือ Software ต่างๆด้านงานวิเคราะห์โครงสร้างโดยเฉพาะ แนะนำว่าก่อนที่จะใช้ Software ใดๆนั้น ควรทำความเข้าใจในสมมติฐานของ Software นั้นๆให้เข้าใจเสียก่อน จากคู่มือการใช้หรือจากการอบรม (แต่ผลสุดท้ายก็ต้องขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเราเองเป็นสำคัญ)

ส่วนการวิเคราะห์โดย “วิธีแบบประมาณ” ถึงแม้ว่าจะสะดวกและรวดเร็วแต่โดยความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแล้ว แนะนำให้ใช้วิธีดังกล่าวสำหรับเพื่อ “การตรวจสอบ” คร่าวๆในเบื้องต้นของผลที่ได้จากการวิเคราะห์โดย “วิธีละเอียด และจากSoftware ต่างๆว่าน่าจะถูกต้องหรือเปล่า เท่านั้น

แต่ถ้าหากว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้การวิเคราะห์โดย “วิธีแบบประมาณจริงๆ แนะนำให้ใช้ วิธีใช้สูตรสำเร็จ และ วิธีใช้ ส.ป.ส.ของโมเมนต์ ตามมาตรฐานของACI. และ วสท.(แต่แนะนำว่าควรปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานดังกล่าว อย่างเคร่งครัด

4.ทำการตรวจสอบขนาดหน้าตัดคานที่เลือกใช้(ทำหรือไม่ทำก็ได้) แต่โดยทั่วไปแล้วมักไม่นิยมตรวจสอบกัน แต่จะไปตรวจสอบที่ค่าของ M, เปรียบเทียบกับค่าของ Mmax แทน แล้วนำไปคำนวณหาหรือปรับแก้ที่ปริมาณเหล็กเสริมแทน

5.คำนวณหาปริมาณเหล็กเสริมหลัก(แกน)ที่ต้องการ

➭ปริมาณเหล็กเสริมหลัก( ต่ำสุดไม่น้อยกว่า 12 mm.)

6.ทำการตรวจสอบหน่วยแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดจริง พร้อมกับระยะฝังยึดเหล็ก(เช่น ในกรณีของคานยื่น ฯ)

7.ทำการตรวจสอบหน่วยแรงเฉือนที่เกิดจริง

8.ค่านวณหาปริมาณเหล็กเสริมลูกตั้งที่ต้องการ

➭ขนาดและระยะห่างของเหล็กลูกตั้ง( ตี๋าสดไม่น้อยกว่า 6 mm)

9 เขียนรายละเอียดแสดงการเสริมเหล็ก และการจัดวาง

งานโครงสร้างคาน รูปแสดงให้เห็นถึงการผสมคอนกรีตที่ไม่ดีแล้วไม่ได้ใช้ เครื่องจี้คอนกรีต ทำให้คอนกรีตเป็นโพรงเห็นเหล็กและลูก ปูน คอนกรีตไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันและยังมีเศษไม้ติดอยู่

เราเป็นมากว่าผู้รับเหมาทั่วไปเพราะเรามีความชำนานและความโดดเด่นที่เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครในหลากหลายสไตล์เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เราไม่อยากให้ท่านเสียเวลาเปล่า กับผู้รับเหมาทั่วไปที่ไม่มีความรับผิดชอบทิ้งงานและไม่มีประสบการณ์ที่มากพอ แต่ถ้าลูกค้าต้องการที่จะหาผู้รับเหมาที่ดีและมีประสบการณ์มีความชำนานและมีทีมงานจากหลายๆฝ่ายละก็ สามารถทักหาเราเพื่อที่เราจะได้ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ท่านได้ เพราะเราเชื่อว่าลูกค้าเป็นเหมือนพี่น้องเราจึงให้ความสำคัญและใส่ใจในการดูแลในแบบฉบับครอบครัว

ติดต่อเรา⁣

บริษัทรับต่อเติมบ้าน

หรือโทรติดต่อได้ที่เบอร์

☎️ TEL : 098-016-1989