concrete-foundations
พื้นคอนกรีต พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก แนวคานที่รองรับพื้นมีลักษณะวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือใกล้เคียงกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสวงรอบปิดด้าน

ระบบ พื้นคอนกรีต สองทางพร้อมคานรองรับ แนวคานที่รองรับพื้นมีลักษณะวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือใกล้เคียงกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสวงรอบปิดทั้งสี่ด้าน พื้นคอนกรีตเทหล่อในที่มักได้รับการออกแบบให้ถ่ายเทน้ำหนักทั้งสองทิศทางไปยังคานทั้งสองคู่ที่วางขนานกันอยู่ เนื่องจากการรับน้ำหนักได้ถูกถ่ายออกไปยังด้านถึงสี่ตัว

พื้นคอนกรีต คืออะไรอยู่ตรงส่วนไหนของบ้านอาคาร

ทำให้พื้นระบบสองทางเหมาะกับการรับน้ำหนักระดับปานกลางถึงมาก หรืองานที่ต้องการโครงสร้างต้านทานต่อแรงกระทำด้านข้างมากๆ อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการประหยัโครงสร้างพื้นสองทางสามารถออกแบบให้อยู่บนหัวเสาได้โดยตรงโดยไม่ต้องมีคานรองรับ

พื้นคอนกรีต

• พื้นคอนกรีต หนาอย่างน้อย 4″ (100) หรือประมาณเท่ากับความยาวเส้นรอบรูปพื้นหาร 180

• เหล็กเสริมรับแรงดึง

• ช่วงพาดมีแนวคานรองรับเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือมีลักษณะใกล้เคียงเหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำหนักบรรทุกระดับปานกลางถึงมาก บนช่วงพาดตั้งแต่ 15 ถึง 40′ (4.5 ถึง 12 m)

พื้นคอนกรีต

• สำหรับพื้นสองทางแบบไร้คาน การวางเหล็กเสริมแบ่งเป็นสองพื้นที่คือ พื้นที่ในแถบเสา และพื้นที่ในแถบกลาง โดยสมมติให้หน่วยแรงดัดโมเมนต์ของแต่ละพื้นที่มีค่าคงที่ตลอด

• สำหรับแผ่นพื้นสองทางที่วางเป็นเนื้อเดียวกันต่อเนื่องกันตั้งแต่ 3 ช่วงขึ้นไป จะช่วยลดหน่วยแรงดัดโมเมนต์ในพื้นที่ให้มีค่าน้อยกว่าค่าโมเมนต์ในแผ่นพื้นช่วงเดียว

แผ่นพื้นกระทง

แผ่นพื้นกระทงคือ พื้นระบบสองทางแบบหนึ่งที่มีคานสองแนวตั้งเป็นมุมฉาก สามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่าและวางพาดได้ช่วงพาดยาวกว่าแผ่นพื้นไร้คาน

•เหล็กรับแรงดึง

• คาน กว้าง 5″ หรือ 6″ (125 หรือ 150)

• พื้นหนา 3 ถึง 4″ (75 ถึง 115) หรือประมาณเท่ากับความยาวช่วงพาดหาร 24

• แบบหล่อทำจากเหล็กหรือไฟเบอร์กลาสกว้าง 19″ และ 30″ (485 และ760) และลึก 8″ ถึง 20″ (205 ถึง 510) หรือเพิ่มขึ้นทีละ 2″ (51) และมีขนาดที่ใหญ่กว่านี้โดยผนังแนวดิ่งทำมุมเอียงเพื่อให้ถอดแบบได้ง่ายขึ้น

• ส่วนประกอบของแบบหล่อกว้างรวม 21 (610) ประกอบด้วยส่วนที่เป็นโดมกว้าง 19″ (485) และคานกว้าง 5″ (125) หรือแบบหล่อกว้างรวม3′ (915) ประกอบด้วยส่วนที่เป็นโดมกว้าง 30″ (760) และคานกว้าง 6″ (150)

• เทคอนกรีตเต็มพื้นกระทงช่วงบริเวณหัวเสา เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับแรงเฉือนและแรงโมเมนต์ดัด ซึ่งขนาดการทำคอนกรีตเต็มนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำหนักบรรทุกและความยาวช่วงพาดจากเสาถึงเสา

• ระยะช่วงพาดที่เหมาะสม 24′ ถึง 54′ (7 ถึง 16 m) ช่วงพาดที่ยาวกว่านี้ควรเป็นคอนกรีตอัดแรงแบบดึงทีหลัง

• ควรออกแบบการวางตำแหน่งของเสาให้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือใกล้เคียงกับสี่เหลี่ยมจัตุรัสให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้นอกจากนี้ โครงสร้างแผ่นพื้นกระทงสามารถยื่นออกไปเป็นพื้นยื่นลอยที่ระยะประมาณไม่เกิน 1/3 ของความยาวช่วงก่อนอื่น ซึ่งในการจบงานแผ่นพื้นกระทงตามขอบรอบบริเวณทั้งหมด (หากไม่มีพื้นกระทงยื่นลอย) ให้ทำเป็นคานหรือพื้นคอนกรีตเดิมโดยรอบ

• โดยทั่วไปใต้พื้นกระทงจะปล่อยโชว์โดยไม่มีผ้าปิด

เราเป็นมากว่าผู้รับเหมาทั่วไปเพราะเรามีความชำนาน และความโดดเด่นที่เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครในหลากหลายสไตล์เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เราไม่อยากให้ท่านเสียเวลาเปล่า กับผู้รับเหมาทั่วไปที่ไม่มีความรับผิดชอบทิ้งงานและไม่มีประสบการณ์ที่มากพอ แต่ถ้าลูกค้าต้องการที่จะหาผู้รับเหมาที่ดีและมีประสบการณ์มีความชำนานและมีทีมงานจากหลายๆฝ่ายละก็ สามารถทักหาเราเพื่อที่เราจะได้ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ท่านได้ เพราะเราเชื่อว่าลูกค้าเป็นเหมือนพี่น้องเราจึงให้ความสำคัญและใส่ใจในการดูแลในแบบฉบับครอบครัว

ติดต่อเรา⁣

หลังคาบ้าน แบบไหนดี

หรือโทรติดต่อได้ที่เบอร์

☎️ TEL : 098-016-1989