พื้นบ้าน อาคารเป็นโครงสร้างแผ่นระนาบ ในแนวราบขององค์อาคาร ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบรรทุกทั้งน้ำหนัก บรรทุกจร เช่น น้ำหนักที่เกิดจากผู้อยู่อาศัย เครื่องเรือน เครื่องจักรต่างๆ และน้ำหนักเอง ที่สร้างขึ้นจากวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีต เหล็ก หรือไม้ พื้นจะบรรทุกคงที่
พื้นบ้าน พื้นอาคาร สร้างอย่างไรให้เรียบเนียน ถ้าคุณไม่ทราบเรามาดูกัน
เช่น น้ำหนักที่เกิดจากน้ำหนักของตัวโครงสร้าง พื้นรองรับน้ำหนักบรรทุกดังกล่าว แล้วถ่ายเทกระจายน้ำหนัก ในแนวราบไปสู่จุดรองรับที่เป็นคาน เสา หรือกำแพงรับแรง ในบางครั้งเราสามารถออกแบบพื้น ให้มีลักษณะแข็งแรงพอ ที่จะถ่ายแรงออกไป ยังกำแพงรับแรงทั้งสองข้าง เพื่อเพิ่มความมั่นคง ของบ้าน หรืออาคาร
โดยทั่วไประบบโครงสร้างพื้น อาจจะประกอบด้วย พื้นที่วางบนตหลายๆ ตัววางเรียง โดยมีหัวท้ายของตง พาดไว้กับคาน และคานทำหน้าที่ รองรับน้ำหนักจากตง แล้วถ่ายน้ำหนักไปยังเสา พื้นอีกประเภท ที่ได้รับความนิยม คือ พื้นที่มีเนื้อคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ไม่มีตงมารองรับ แต่จะพาดโดยตรง กับคานเลย
ทั้งนี้ความหนาของพื้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำหนักบรรทุก ความกว้างยาว ของช่วงพาด ของพื้นในช่วงหนึ่ง จากคานถึงคาน และวัสดุที่ใช้ทำพื้น ในกรณีที่มีพื้นยื่น หรือช่องเปิด ที่พื้นนั้นๆ ตำแหน่ง และขนาดของพื้นยืน และช่องเปิดต้องพิจารณา ให้สอดคล้องกับตำแหน่ง จุดรองรับ เช่น เสา หรือคาน ที่รองรับพื้นนั้นๆ
ข้อควรพิจารณา ในการออกแบบโครงสร้าง บ้าน อาคาร ที่สำคัญที่ผู้ออกแบบ บ้าน อาคาร ควรคำนึงถึง ได้แก่ ค่าการแอ่นตัว และค่าการสั่นตัว ในพิกัดที่เหมาะสม เพราะหากพื้นมีค่าความแข็งแรง เพียงรับน้ำหนักได้อย่างเดียว แต่เกิดการสั่นตัว หรือแอ่นตัว ที่มากเกินไป เมื่อมีน้ำหนักมากระทำ ก็จะทำให้ผิวพื้น หรือฝ้าเพดาน ที่ติดอยู่ใต้ พื้นบ้าน พื้นบ้านอาคารนั้นๆ เกิดการแตกร้าว หรือเกิดความเสียหาย ทำให้ผู้อยู่อาศัย รู้สึกไม่ปลอดภัย
พื้นคอนกรีต
พื้นคอนกรีต ชนิดเทหล่อในที่ (cast-in-placeconcrete floor slabs) แบ่งประเภท ตามดังต่อไปนี้
- ความสัมพันธ์ระหว่างความกว้าง กับความยาวของพื้น
- พื้นคอนกรีตชนิดสำเร็จรูป วางพาดอยู่บนคาน หรือกำแพงรับแรง
พื้นเหล็ก
- คานซอยเหล็ก รองรับแผ่นพื้นเหล็ก หรือแผ่นพื้นคอนกรีตสําเร็จรูป
- คานหลักเสา หรือกำแพง รับแรงรองรับคานซอยเหล็กอีกที
- คานซอยเหล็ก มีความแข็งแรง กว่าคานซอยโครงถัก ดังนั้น ระยะห่างระหว่างคานซอยเหล็ก จึงมีได้มากกว่าคานซอยโครงถัก
- คานซอยปลายยื่น (หูช้าง) ยื่นออก เพื่อรับแผ่นพื้นได้จำกัด
- คานซอยที่ทําขึ้นด้วยรูปแบบ โครงถักโปร่งประกอบจากเหล็กรูปพรรณรีดเย็น วางไม่ห่างจากกัน หัวท้ายรองรับด้วยคานเหล็ก หรือกำแพงรับแรง
- ระยะความยาวช่วงพาดของแผ่นพื้นเหล็ก หรือแผ่นพื้นคอนกรีตสําเร็จรูป จะสั้นลง
พื้นไม้
- แผ่นพื้นสำเร็จรองรับด้วยตงไม้
- คานซอยไม้ วางห่างกันรองรับแผ่นพื้น ซึ่งมักเป็นพื้นไม้กระดาน
- หากต้องมีช่องเปิด หรือมีน้ำหนักกระทำเป็นจุด จะต้องเสริมความแข็งแรง ให้กับโครงสร้าง บ้าน อาคารเป็นพิเศษ ด้วยพื้นรองรับด้วยตงไม้ อีกที
- ใต้พื้นมักไม่นิยมตีฝ้าปิด ทำให้เห็นท่อ และสายไฟ และการเก็บเสียง จึงไม่ดีเท่าที่ควร
- พื้นรองรับด้วยตงไม้วางแบบใกล้กัน แผ่นพื้นอาจเป็นไม้อัดหนา หรือไม้กระดานที่ต้องการช่วงพาดสั้นๆ
- ใต้พื้นอาจประกอบด้วยชั้นฉนวน อุปกรณ์สาธารณูปโภค และตีฝ้าเพดาน ที่สามารถใช้ระยะช่วงพาดสั้นๆ ได้ เนื่องจากตงไม้แต่ละตัว วางใกล้กันการรองรับคงที่ สามารถทำได้หลายรูปแบบ
เราเป็นมากว่าผู้รับเหมาทั่วไป เพราะเรามีความชำนาน และความโดดเด่นที่เฉพาะตัว ที่ไม่เหมือนใครในหลากหลายสไตล์เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เราไม่อยากให้ท่านเสียเวลาเปล่า กับผู้รับเหมาทั่วไปที่ไม่มีความรับผิดชอบทิ้งงานและไม่มีประสบการณ์ที่มากพอ แต่ถ้าลูกค้าต้องการที่จะหาผู้รับเหมาที่ดีและมีประสบการณ์มีความชำนานและมีทีมงานจากหลายๆฝ่ายละก็ สามารถทักหาเราเพื่อที่เราจะได้ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ท่านได้ เพราะเราเชื่อว่าลูกค้าเป็นเหมือนพี่น้องเราจึงให้ความสำคัญและใส่ใจในการดูแลในแบบฉบับครอบครัว
ติดต่อเรา
หรือโทรติดต่อได้ที่เบอร์
☎️ TEL : 098-016-1989