ฐานราก มีกี่ประเภท ทำหน้าที่อะไรบ้าง
ฐานราก (Footing) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานในการก่อสร้างบ้าน อาคารหรือโครงสร้างที่มีการใช้งานหนัก ฐานรากมักจะถูกวางใต้ส่วนล่างของแต่ละคอลัมน์หรือเสาที่ใช้สำหรับสร้างโครงสร้างเหล่านั้น ฐานรากมีหน้าที่ในการกระจายน้ำหนักจากโครงสร้างให้แพร่กระจายไปยังพื้นใต้ดินอย่างมีความเสถียร
ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากโครงสร้างทั้งหมด แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็ม หรือดินโดยตรง คุณสมบัติขอบดินที่รองรับฐานราก ควรมีความสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้โดยไม่เกิดการเคลื่อนตัว หรือพังทลายของดินใต้ฐานราก และต้องไม่เกิดการทรุดตัวลงมาก จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้างเพราะฉนั้นฐานรากจึงเป็นจุดสำคัญที่ ไม่สามารถขาดได้เลยโดยเด็ดขาด แต่รู้หรือไม่ฐานรากนั้นมีอยู่กี่ประเภท หน้าตาเป็นอย่างไร แต่ระแบบมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ถ้าคุณไม่ทราบ แอดมินจะอธิบายโดยสังเขป ให้กับเพื่อนๆได้ทราบ และรู้จักคุณสมบัต
ฐานราก ถูกแบ่งออกตามลักษณะได้ 2 ชนิด คือ
1.ฐานรากตื้นหรือแบบไม่มีเสาเข็มรองรับ
- หรือ ฐานรากแผ่( Shallow foundation) หรือ ฐานรากที่วางบนดิน (Spread Foundation) คือ ฐานรากที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่พื้นดิน หรือหินที่รองรับอยู่ เป็นฐานรากที่ไม่ใช้เสาเข็ม เหมาะกับสิ่งก่อสร้างที่ปลูกบนพื้นดินที่มีดินชั้นบนแข็ง มีความหนาแน่นพอที่จะรองรับน้ำหนักได้หลายกีโล ทำให้ยากต่อการขุดเจาะ ฐานรากแบบตื่น หรือ ฐานรากแผ่จึงเหมาะและสำคัญมาก จะเหมาะกับงานลักษณะโครงสร้างที่มีน้ำหนักไม่มาก โดยมักจะวางบนดินทรายที่บดอัดแน่น โดยฐานรากวางบนดินยังสามารถ แบ่งแยกย่อยออกได้อีก คือ ฐานรากแผ่เดี่ยว ฐานรากแผ่ปูพรม ฐานรากแผ่ร่วม ซึ่งการรับน้ำหนัก และการใช้งานก็ในรูปแบบเดียวกัน ไม่ต่างกันเท่าไหร่
2.ฐานรากลึกแบบมีเสาเข็มรองรับ
- ฐานรากลึก (Deep Foundation) หรือแบบมีเสาเข็มรองรับ เป็นฐานรากที่ถ่ายน้ำหนักโครงสร้างลงสู่ดินด้วยเสาเข็ม เนื่องจากชั้นดินที่รับน้ำหนักปลอดภัยอยู่ในระดับลึก เหมาะกับการก่อสร้างบนดินอ่อน มีการออกแบบฐานรากให้มีขนาดเสาเข็ม และความลึกให้มีลักษณะ แตกต่างกันเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนัก และความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่ ฐานรากในลักษณะนี้ เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องมีความระมัดระวัง เช่นอาคารตึกสูง หรือบ้าน ที่มีโครงสร้างที่ใหญ่เป็นพิเศษ และโครงการใหญ่ที่ต้องเน้น ความยืดหยุ่นและการถ่ายน้ำหนักที่ค่อนข้างสูง
ประเภทของฐานราก
ทั้งฐานรากชนิดตื้น และชนิดลึก มีลักษณะของการก่อสร้าง และความสามารถในการรับน้ำหนักที่แตกต่างกัน แบ่งได้ดังนี้
ฐานแผ่เดี่ยว
- คือ ฐานรากที่รับน้ำหนักจากเสาของอาคาร หรือ เสาตอม่อเพียงต้นเดียว แล้วจึงถ่ายน้ำหนักลงสู่พื้นดิน อาจเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็ได้ โดยความหนาของฐานรากต้องสามารถต้านทานโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนได้ และ ป้องกันการกัดกร่อนเนื่องจากความชื้นที่อาจทำให้เหล็กเกิดสนิมได้ ซึ่งฐานรากแผ่เดี่ยวที่ดีนั้น ตำแหน่งของตอม่อ หรือ เสาควรจะอยู่ตรงศูนย์กลางของฐานราก แต่บางครั้งที่ต้องการสร้างฐานรากชิดแนวเขตที่ดิน ทำให้ไม่สามารถสร้างฐานรากเกินไปในเขตของผู้อื่นได้ ทางผู้ออกแบบจะวางตำแหน่งของตอม่อ หรือเสาไว้ด้านใดด้านหนึ่งของฐานราก หรือเรียกว่า ฐานรากตีนเป็ด หรือ ฐานรากชิดเขต (Strap Footing) ความหนาของตัวฐาน ต้องสามารถต้านทานโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนได้อย่างเพียงพอ และสามารถป้ องกันการกัดกร่อนตัวเหล็กเสริมเนื่องจากความชื้น ในบางกรณีที่ เสาอาคารไม่วางอยู่บนศูนย์กลางฐานราก เช่น อยู่ ติดเขตที่ดิน อาจถูกออกแบบให้เสาวางอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของฐานราก เรียกว่า ฐานรากตีนเป็ด
ฐานต่อเนื่องรับกำแพง
- เป็นฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักจากผนังก่ออิฐ หรือผนังคอนกรีตเสริมเหล็กของอาคารหลายๆ ชั้น ขนาดความกว้างของฐานรากขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่กดลงสู่ฐานรากได้ทั้งผนังก่ออิฐและผนังคอนกรีต เป็นรูปแบบที่นิยมในอดีตเพราะไม่จำเป็นต้องมีเสา แต่จะสร้างฐานรากยาวไปตลอดทั้งแนวผนัง เหมาะสำหรับอาคารที่สูงไม่เกิน 3 ชั้น โดยต้องมีการออกแบบและเซ็น แบบโดยสถาปนิกระดับสามัญ ขึ้นไปจนถึงระดับวุฒิ ที่สามารถเซ็นแบบและโครงสร้างในระดับที่สูงกว่าอาคารทั่วไป
ฐานแผ่ร่วม
- ฐานแผ่ร่วม เป็นการออกแบบฐานรากเพื่อแก้ปัญหา กรณีไม่สามารถสร้างฐานรากเดี่ยวที่สมมาตรได้ ซึ่งฐานรากที่ไม่สมมาตรนี้ เมื่อรับน้ำหนักที่ถ่ายลงบนฐานไม่เท่ากัน ทำให้เกิดแรง เยื้องศูนย์อาจทำให้อาคารทรุดตัวได้
ฐานชนิดมีคานรับ
- ฐานรากชนิดมีคานรัด (Cantilever Footing) เป็นการออกแบบฐานรากเพื่อแก้ปัญหากรณีไม่สามารถสร้างฐานรากที่สมมาตรได้อีกวิธีหนึ่ง เหมาะกับเสาของอาคารที่มีความจำเป็นต้องสร้างประชิดติดกับอาคารเดิม หรือแนวเขตดินที่ไม่สามารถวางตาแหน่งของฐานให้ ตรงกับแนวเสาตอม่อได้ จึงออกแบบให้มีคานคอนกรีตแบกรับน้ำหนักจากเสาตอม่อ
ฐานชนิดแผ่
- กรณีที่สำนักงาน และอาคารอยู่ใกล้เคียงกันมาก หรืออาคารมีน้ำหนัก บรรทุกมาก เช่น อาคารสูงถ้าออกแบบฐานรากเป็นฐานเดี่ยว พื้นที่ฐานรากอาจซ้อนทับกัน งานก่อสร้างงยุ่งยาก จึงออกแบบฐานรากเป็น ฐานแผ่
ระดับความลึกของฐานราก
การกำหนดความลึกของฐานราก ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายใน การก่อสร้างและความสะดวกในการทำงาน ถ้าหากฐานรากมี ความลึกเกินจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช่จ่าย แต่ถ้าหากฐานรากมี ระดับตื้นเกิน อาจเกิดปัญหาให้กับอาคาร
ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงของฐานราก
ความแข็งแรงของตัวฐานรากเองซึ่งหมายถึงโครงสร้างส่วนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ความสามารถในการแบกรับน้ำหนักของดินใต้ฐานราก
การทรุดตัวของดินใต้ฐานราก ควรเกิดขึ้นได้น้อย และใกล้เคียงกันทุกฐานราก
****เป็นอีกหนึ่งรายละเอียดและข้อมูลเพื่อให้รู้ว่า ฐานราก มีกี่ประเภท โดยที่เพื่อสามารถอ่อนเพื่อเสริมสร้างความรู้ เพื่อพิจรณาในการลงฐานรากอย่างถูกวิธี เมื่อเรารู้แล้วว่า ฐานราก มีกี่ประเภท ก็ควรพิจราณาเก็บไว้เป็นความรู้จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ ผู้รับเหมาที่มีมีความรูเความสามารถมากพอ****
เราเป็นมากว่าผู้รับเหมาทั่วไปเพราะเรามีความชำนานและความโดดเด่นที่เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครในหลากหลายสไตล์เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เราไม่อยากให้ท่านเสียเวลาเปล่า กับผู้รับเหมาทั่วไปที่ไม่มีความรับผิดชอบทิ้งงานและไม่มีประสบการณ์ที่มากพอ แต่ถ้าลูกค้าต้องการที่จะหาผู้รับเหมาที่ดีและมีประสบการณ์มีความชำนานและมีทีมงานจากหลายๆฝ่ายละก็ สามารถทักหาเราเพื่อที่เราจะได้ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ท่านได้ เพราะเราเชื่อว่าลูกค้าเป็นเหมือนพี่น้องเราจึงให้ความสำคัญและใส่ใจในการดูแลในแบบฉบับครอบครัว
ติดต่อเรา
หรือโทรติดต่อได้ที่เบอร์
☎️ TEL : 098-016-1989